เมนู

และมิใช่แต่พวงดอกไม้อย่างเดียวเท่านั้น, พวงดอกไม้ทำด้วยแป้งก็ดี
พวงดอกไม้ทำคล้ายลูกคลีก็ดี พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข1 (ที่ทำด้วย
ไม้ไผ่ก็ว่า) ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีก็ดี พวกภิกษุก็ดี พวกภิกษุณีก็ดี
จะทำเอง ก็ไม่ควร จะใช้ให้ทำก็ไม่ควร เพราะสิกขาบทเป็นสาธารณ-
บัญญัติ. แต่จะกล่าวถ้อยคำที่เป็นกัปปิยะ มีการบูชาเป็นเครื่องหมาย
สมควรทุก ๆ แห่ง. ปริยาย โอภาส และนิมิตกรรม สมควรทั้งนั้นแล.

[ว่าด้วยความประพฤติอนาจารต่าง ๆ]


บทว่า ตุวฏฺเฏนฺติ แปลว่า ย่อมนอน.
บทว่า ลาเสนฺติ มีความว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น
ลุกขึ้นดุจลอยตัวอยู่เพราะปีติ แล้วให้นางระบำผู้ชำนาญเต้นรำ ร่ายระบำ
รำฟ้อน คือ ให้จังหวะ (ร่ายรำ).2
สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ นจฺจนฺติ มีความว่า ในเวลาที่หญิงฟ้อน
ร่ายรำอยู่ แม้ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น ก็ร่ายรำไปข้างหน้า
หรือข้างหลังแห่งหญิงฟ้อนนั้น.
สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ คายนฺติ มีความว่า ในขณะที่หญิงฟ้อน
นั้นฟ้อนอยู่ พวกภิกษุเหล่านั้น ย่อมขับร้องคลอไปตามการฟ้อนรำ. ใน
ทุก ๆ บท ก็มีนัยอย่างนี้.
1.อตฺถโยชนา 1/501 ขรปตฺตทามนฺติ สุนขทนุตสทิสํ กตปุปฺผทามํ,เวฬาทหิ กตปุปฺผทา-
มนฺติปิ เกจิ. แปลว่า พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข ชื่อขรปัตตาทามะ,อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า พวงดอกไม้ทำด้วยไม้ไผ่เป็นต้น ก็มี.
2.สารัตถทีปนี 3/118 แก้ไว้ว่า แสดงนัยยิ่ง ๆ มีอธิบายว่า ประกาศความประสงค์ของตน
แล้วลุกขึ้นแสดงอาการฟ้อนรำก่อน ด้วยกล่าวว่า ควรฟ้อนรำอย่างนี้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
สอดนิ้วมือเข้าปาก ทำเสียง หมุนตัวดุจจักร ชื่อว่า ให้ เรวกะ-ผู้ชำระ.

สองบทว่า อฏฺฐปเทปิ กีฬนติ มีความว่า ย่อมเล่นหมากรุกบน
กระดานหมากรุกแถวละ 8 ตา. ในกระดานหมากรุกแถวละ 10 ตา ก็
เหมือนกัน.
บทว่า อากาเสปิ มีความว่า เล่นหมากเก็บในอากาศ เหมือน
เล่นหมากรุกแถวละ 8 ตา และแถวละ 10 ตาฉะนั้น.
บทว่า ปริหารปเถ มีความว่า ทำวงเวียนมีเส้นต่าง ๆ ลงบนพื้น
ดินแล้ว เล่นวกวนไปตามเส้นวกวนในวงเวียนนั้น (เล่นชิงนาง).
สองบทว่า สนฺติกายปิ กีฬนิติ ได้แก่ เล่นกีฬาหมากไหวบ้าง.
อธิบายว่า ตัวหมากรุกและหินกรวดเป็นต้นที่ทอดไว้รวมกัน เอาเล็บ
เท่านั้นเขี่ยออก และเขี่ยเข้าไม่ให้ไหว. ถ้าว่า ในลูกสกาตัวหมากรุก
หรือหินกรวดเหล่านั้นบางอย่างไหว เป็นแพ้.
บทว่า ขลิกาย ได้แก่ เล่นโยนห่วงบนกระดานสกา.
บทว่า ฆฏิกาย มีความว่า การเล่นกีฬาไม้หึ่ง ท่านเรียกว่า ฆฏิถา
เล่นด้วยกีฬาไม้หึ่งนั้น. ความว่า เที่ยวเอาไม้ยาวตีไม้สั้นเล่น.
บทว่า สลากหตฺเถน มีความว่า เล่นเอาพู่กันจุ่มด้วยน้ำครั่ง น้ำ
ฝาง หรือน้ำผสมแป้งแล้วถามว่า จะเป็นรูปอะไร ? จึงแต้มพู่กันนั้นลง
ที่พื้น หรือที่ฝาผนังแสดงรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น.
บทว่า อกฺเขน แปลว่า ลูกสกา.
บทว่า ปงฺกจิเรน มีความว่า หลอดใบไม้ ท่านเรียกว่า ปังกจิระ,
เล่นเป่าหลอดใบไม้นั้น.
บทว่า วงฺกเกน ได้แก่ ไถเล็ก ๆ เป็นเครื่องเล่นของพวกเด็กชาว
บ้าน.

บทว่า โมกฺขจิกาย มีความว่า การเล่นหกคะเมน ตีลังกา ท่าน
เรียกว่า โมกขจิกา. อธิบายว่า เล่นค้ำยันไม้บนอากาศ หรือปักศรีษะ
ลงที่พื้นแล้วหมุนไปรอบ ๆ ทั้งข้างล่างและข้างบน (เล่นจับบาร์หรือปัก
ศีรษะลงจดฟื้นแล้วหกคะเมนตีลังกา).
บทว่า จิงฺคุเลน มีความว่า กังหันที่หมุนไปโดยถูกลมพัด ซึ่ง
กระทำด้วยใบตาลเป็นต้น เรียกว่า จิงคุลกะ, เล่นด้วยกังหันนั้น.
บทว่า ปตฺตาฬหเกน มีความว่า กรวยใบไม้ เรียกว่า ปัตตาฬหกะ,
เล่นตวงทรายเป็นต้น ด้วยกรวยใบไม้นั้น.
บทว่า รถเกน ได้แก่ รถน้อย ๆ.
บทว่า ธนุเกน ได้แก่ ธนูน้อย ๆ.
บทว่า อกฺขริกาย มีความว่า การเล่นทายอักษรที่อากาศ หรือ
ที่หลัง เรียกว่า อักขริกา, เล่นด้วยกีฬาทายอักษรนั้น.
บทว่า มเนสิกาย มีความว่า เล่นด้วยกีฬาทายความคิดทางใจ
ที่ท่านเรียกว่า มเนสิกา.
บทว่า ยถาวชฺเชน มีความว่า การเล่นแสดงประกอบท่าทางของ
คนพิการ มีคนตาบอด คนกระจอก และคนค่อมเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่า
เล่นเลียนคนพิการ. ภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเล่นด้วยกายเล่นเลียนคน
พิการ เหมือนพวกชนชาวเวลัมพกเล่น (ชนพวกเล่นกายกรรม) ฉะนั้น.
สองบทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขนฺติ มีความว่า ย่อมศึกษาศิลปะที่
ควรศึกษา มีช้างเป็นนิมิต. แม้ในศิลปะมีมาเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้
บทว่า ธาวนฺติปิ ได้แก่ วิ่งขับไปตามหลัง.

บทว่า อาธาวนฺติปิ มีความว่า วิ่งหันหน้าวกกลับมาตลอดระยะ
ทางที่ตนวิ่งไป (วิ่งเปี้ยวกัน).
บทว่า นพฺพชฺณนฺติ ได้แก่ ย่อมทำการปล้ำกัน.
สองบทว่า นลาฏิกมฺปิ เทนฺติ มีความว่า ย่อมแตะนิ้วที่หน้าผาก
ตนแล้ว แตะที่หน้าผากของหญิงฟ้อนนั้น พร้อมกับพูดว่า ดีละ ดีแล้ว
น้องหญิง !
สองบทว่า วิวิธมฺปิ อนาจารํ มีความว่า ประพฤติอนาจารต่าง ๆ
มีกลองปากเป็นต้น (ปี่พาทย์ปาก, ผิวปากเป็นต้น ) แม้อื่น ๆ ซึ่งไม่ได้
มาในพระบาลี.

[แก้อรรถตอนชาวกิฏาคีรีพบภิกษุอาคันตุกะ]


บทว่า ปาสาทิเกน ได้แก่ อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส คือสมควร
เหมาะสมแก่สมณะ.
บทว่า อภิกฺกนฺเตน คือ มีการเดิน.
บทว่า ปฏิกฺกนฺเตน คือ มีการถอยกลับ.
บทว่า อวโลกิเตน คือ การมองดูไปข้างหน้า.
บทว่า วิโลกิเตน คือ ดูข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง.
บทว่า สมฺมิญฺชิเตน คือ การคู้ข้ออวัยวะเข้า.
บทว่า ปสาริเตน คือ การเหยียดข้อเหล่านั้นนั่นแหละออก. ใน
บททั้งปวงเป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถบอกอิตถัมภูต. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้
มีการเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้เข้า เหยียดออก
อันน่าเลื่อมใส เพราะถูกควบคุมด้วยสติสัมปชัญญะ.